ประวัติความเป็นมา
หลังการปฏิวัติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ หัวหน้าคณะปฏิวัติได้พัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการศึกษาเป็นการใหญ่เพื่อให้ชาติเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้วางโครงการศึกษาเสนอสภาการศึกษาแห่งชาติ และสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พิจารณาเพื่ออนุมัติให้ดำเนินการต่อไป เมื่อทั้งสองสภาได้อนุมัติแล้ว ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๑ และได้รับอนุมัติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการตั้งโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาคขึ้น
โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา (USOM) เป็นระยะเวลา ๕ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นต้นไป โครงการนี้เรียกว่าโครงการพัฒนาการศึกษา(GENERAL EDUCATION PROJECT - G.E.P) เรียกย่อ ๆว่า ค.พ.ศ. กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กรมฝึกหัดครู กรมสามัญศึกษา และกรมวิสามัญศึกษา ทำงานร่วมกัน โดยมีกรมวิชาการ ร่วมงานด้านวิชาการ และแบ่งจังหวัดต่าง ๆ ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ความเป็นอยู่ของประชาชนคล้ายคลึงกันเป็นภาคการศึกษา ๑๒ ภาค เพื่อให้จังหวัดใหญ่ ๆ เป็นศูนย์การศึกษาที่สามารถพึ่งตนเองได้ทางวิชาการ สร้างคุรุสัมมนาคารให้ครบทุกภาคการศึกษา มีเจ้าหน้าที่ประจำดำเนินการอบรมครูประจำการ และพิจารณาส่งเสริมการศึกษาทุกแขนง อนุโลมตามลักษณะท้องที่โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของประชาชน แต่ละภาคจะมีผู้ตรวจการศึกษาประจำภาคเป็นหัวหน้าบริหารงาน เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่จังหวัดที่อยู่ในภาคนั้น ๆ ทั้งด้านการบริหารและวิชาการทางด้านบริหารมีศึกษาธิการจังหวัดในจังหวัดที่ตั้งภาคเป็นผู้ช่วย ในด้านวิชาการมีศึกษานิเทศก์จากกรมการฝึกหัดครู กรมวิสามัญศึกษา และกรมสามัญศึกษา เป็นผู้ช่วยโครงการ
ในปีการศึกษา ๒๕๐๑ โครงการพัฒนาการศึกษาได้เริ่มงานเพียง ๔ ภาคก่อน คือ ภาคศึกษา ๒ ตั้งศูนย์ที่จังหวัดยะลา ภาคศึกษา ๘ ตั้งศูนย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคศึกษา ๑๐ ตั้งศูนย์ที่จังหวัดอุบลราชธานี ภาคการศึกษา ๑๑ ตั้งศูนย์ที่ จังหวัดนครราชสีมา ส่วนอีก ๘ ภาค จะเริ่มดำเนินการในปี ๒๕๐๒
ในเดือนกันยายน ๒๕๐๑ ได้สำรวจข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับศูนย์ภาคศึกษา ๑๐ เช่น สถานที่ตั้งสำนักงาน บุคลากร ผลการสำรวจสถานที่ตกลงได้โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูอุบลราชธานี เป็นเรือนไม้สองชั้น สร้างมาตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๐๒ จึงมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา ๑๐ ขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระยะแรกมี ๕ จังหวัด คือ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และนครพนม โดยมีนายสนิท สุวรรณฑัต
เป็นผู้ตรวจการศึกษาประจำภาค ๑๐ คนแรก ต่อมาได้มีการย้ายศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์จากโรงเรียนต่าง ๆ มาช่วยงาน
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ภาคการศึกษา ๖ จึงจัดตั้งขึ้นที่วิทยาลัยครูเทพสตรีมี ๗ จังหวัด คือ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และอุทัยธานี โดยมี นายหล่อ วีละชาติ เป็นผู้ตรวจการศึกษาประจำภาค ๖ คนแรก ดังมีรายนามผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
บุคลากรผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการประจำภาค ๖
๑. นายหล่อ วีละชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๖
๒. นายทิพย์ ฟักเจียม พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๐๘
๓. นายประยูร วีรวงศ์ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๐๙
๔. นายสุพัฒน์ อนันตวงศ์ ๑ ต.ค. ๒๕๐๙ - ๓๐ เม.ย. ๒๕๑๐
๕. นายปลอด ภาณุรัตน์ ๑ พ.ค. ๒๕๑๐ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๑๐
๖. นายประยูร วีรวงศ์ ๑ ต.ค. ๒๕๑๐ - ๓๑ ม.ค. ๒๕๑๑
๗. นายสุพัฒน์ อนันตวงศ์ ๑ ก.พ. ๒๕๑๑ - ๑๔ เม.ย. ๒๕๑๑
๘. นายเสงี่ยม เต็มสุข ๑๕ เม.ย. ๒๕๑๑ - ๓๑ ก.ค. ๒๕๑๓
๙. นายสุพัฒน์ อนันตวงศ์ ๑ ส.ค. ๒๕๑๓ - ๑๔ ก.พ. ๒๕๑๕
๑๐. นายสำราญ ปกป้อง ๑๕ ก.พ. ๒๕๑๕ - ๑๕ ต.ค. ๒๕๒๑
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ทางราชการได้ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ตามประกาศคณะปฏิวัติที่ ๒๑๗ ข้อ ๕๓ และ ๕๔ ให้เปลี่ยนชื่อภาคการศึกษาเป็นเขตการศึกษา จึงได้ชื่อใหม่เป็นสำนักงานศึกษาธิการ เขตการศึกษา ๖ มีบุคลากรดำรงตำแหน่งศึกษาธิการเขต ดังนี้
๑. นายสำราญ ปกป้อง ๑๕ ก.พ. ๒๕๑๕ - ๑๕ ต.ค. ๒๕๒๑
๒. นายสมาน จันทมิตรี ๑๖ ต.ค. ๒๕๒๑ - ๘ พ.ย. ๒๕๒๖
๓. นายสุภรณ์ ประดับแก้ว ๙ พ.ย. ๒๕๒๖ - ๑ ต.ค. ๒๕๒๘
๔. นายสุพจน์ วัฒนประดิษฐ์ ๒ ต.ค. ๒๕๒๘ - ก.ย. ๒๕๓๐
ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้อาคารสำนักงานใหม่ ณ บริเวณวงเวียนเทพสตรี ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี
๕. นายบุญเหลือ แฝงเวียง ๑ ต.ค. ๒๕๓๐ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๓
๖. ว่าที่ ร.ต. กล้าหาญ ฤกษ์สำราญ ๑ ต.ค. ๒๕๓๓ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๖
ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๕ กำหนดให้สำนักงานศึกษาธิการเขต เป็นสำนักพัฒนาการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา ๖ โดยมีผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นผู้บริหารโดยมีผู้อำนวยการสำนัก ดังนี้
๑. ว่าที่ ร.ต. กล้าหาญ ฤกษ์สำราญ ๑ ต.ค. ๒๕๓๓ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๖
๒. นายสมศักดิ์ ตันติสุนทโรดม ๑ ต.ค. ๒๕๓๖ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๒
๓. ร้อยตรี สุวิช แก้วเกษ ๑ ต.ค. ๒๕๔๒ - ๓๑ ส.ค. ๒๕๔๓
๔. นายธวัชชัย ศักดิ์สว่าง ๑ ต.ค. ๒๕๔๕ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๕
๕. นายวันเดิม มณีโภคา ๑ ต.ค. ๒๕๔๕ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๗
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้มีการปฏิรูประบบราชการใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีการยุบกรมต่าง ๆ และตั้งกรมใหม่เกิดขึ้น โดยสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา ๖ ได้ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ใหม่และได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ ๓ กระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยพื้นที่ความรับผิดชอบ คือ จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และชัยนาทโดยมีผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการเป็นหัวหน้าสำนักงาน และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำเขตตรวจราชการที่ ๓ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจ ดังนี้
๑. นายนิพนธ์ แก้วสุทธา ๑ ต.ค. ๒๕๔๗ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๙
๒. นางศิริชาติ วงษ์ใหญ่ ๑ ต.ค. ๒๕๔๙ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๓
และได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ ๓ ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สป.๒๐๑/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ พ.ค. ๒๕๕๑ เป็น สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ ๓ ลพบุรี โดยมีผู้อำนวยการคือ นางศิริชาติ วงษ์ใหญ่ และมีพื้นที่ความรับผิดชอบ คือ จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ ๓ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ ๑ - ๑๒ และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ รับผิดชอบกลุ่มจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ ๒ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักฯ ดังนี้
๑. นางศิริชาติ วงษ์ใหญ่ ๑ ต.ค. ๒๕๔๙ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๓
๒. นายวีระ เมืองช้าง ๕ พ.ย. ๒๕๕๓ - ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๕
และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานศึกษาธิการภาค ๓ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑ - ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักฯ ดังนี้
๑. นายวีระ เมืองช้าง ๒๗ ก.ย. ๒๕๕๕ - ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๗
๒. นางวัลลีย์ ศรีรัตน์ พ.ย. ๒๕๕๓ - ๒๑ มี.ค.๒๕๕๙
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้เกิดรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีพลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
และในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑ – ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ และให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน ๑๘ ภาค
โดยสำนักงานศึกษาธิการภาค ๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานศึกษาธิการภาค ๒
โดยมีศึกษาธิการภาค ดังนี้
๑. นายอนันต์ ระงับทุกข์ ๒๒ มี.ค.๒๕๕๙ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๙
๒. นายดิศกุล เกษมสวัสดิ์
๓. นางอรสา ภาววิมล
๔. นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์ ๑๖ มิ.ย.๒๕๖๐ - ๑ ต.ค. ๒๕๖๐
๕. นายวีระ แข็งกสิการ ๒ ต.ค.๒๕๖๐ - ๗ มี.ค. ๒๕๖๒
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง
การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒ แต่ยังคงให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค
จำนวน ๑๘ ภาค และให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการฯ
และในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
สถานที่จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๗
มีนาคม ๒๕๖๒ ประกาศสถานที่จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้สำนักงานศึกษาธิการภาค ๒
เปลี่ยนเป็นสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑ รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทาง โดยมีศึกษาธิการภาค ดังนี้
๖. นายวีระ แข็งกสิการ ๘ มี.ค. ๒๕๖๒ – ๑๘ พฤจิกายน ๒๕๖๒
๗. นายปัญญา แก้วเหล็ก ๖ มี.ค.๒๕๖๓ - ถึงปัจจุบัน